4.1 การสื่อสารด้วยข้อมูล

เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ม.5

“ข้อมูลที่จะนำไปประชาสัมพันธ์หรือเผยแพรให้แก่ผู้รับสารได้รับรู้ถึงสิ่งที่ผู้สร้างต้องการสื่อสาร ให้เข้าใจตรงกันนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก (โดยปกติแล้ว การทำความเข้าใจข้อมูลเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก) เพราะผู้สร้างจะต้องพยายามศึกษาว่า ข้อมูลส่วนไหนสำคัญข้อมูลส่วนไหนมีรูปแบบที่น่าสนใจ ยิ่งหากเป็นข้อมูลตัวเลขที่มีจำนวนมาก ผู้ที่พยายามจะทำความเข้าใจข้อมูลนั้น ๆ อาจต้องใช้เวลานาน หรืออาจทำให้ไม่สามารถมองเห็นความรู้ หรือประเด็นสำคัญที่อยู่ภายใต้ข้อมูลนั้น ๆ ได้ แต่วิธีหนึ่งที่จะทำให้ผู้รับสารรับรู้สิ่งที่ผู้สร้างต้องการสื่อสารคือการใช้ภาพ ดังคำกล่าวที่ว่า
“ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดพันคำ” (A picture is worth a thousand words)

การถ่ายทอดข้อมูลหรือการสื่อสารจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับสารนั้น บางครั้งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากข้อมูลมีปริมาณมากหรืออยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ การสื่อสารระหว่างบุคคล จำเป็นที่จะต้องจัดรูปแบบของข้อมูล และนำข้อมูลไปแสดงในบริบทที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจ หรือมองเห็นประเด็นสำคัญที่ต้องการสื่อสารภายใต้ข้อมูลนั้น จึงต้องมีการทำข้อมูลให้เป็นภาพ เพื่อช่วยตอบคำถาม ช่วยในการตัดสินใจช่วยให้มองเห็นข้อมูลในบริบทที่เหมาะสม ช่วยค้นหารูปแบบ รวมทั้งช่วยสนับสนุนคำพูดหรือการเล่าเรื่องราวที่มีอยู่ในข้อมูลชุดนั้น ๆ

 

ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลในตารางที่ 4.1 แสดง ประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงสุด 20 อันดับแรก ของโลก

ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลในตารางที่ 4.1 แสดงประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงสุด 20 อันดับแรกของโลก จากตาราง จะเห็นได้ว่าประเทศจีนและ
อินเดียมีประชากรมากกว่าประเทศอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด โดยสังเกตจากจำนวนหลักของตัวเลขที่มีมากกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรเป็นอันดับ 3

จากรูป 4.1 ประชากรโลกมากกว่ากึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ภายในวงกลมซึ่งครอบคลุมจีน อินเดีย และอินโดนีเซีย แม้ว่าการนำเสนอด้วยภาพนี้จะขาด
รายละเอียด เช่น จำนวนประชากรของแต่ละประเทศ แต่เป็นการนำข้อมูลมาอยู่ในบริบทด้านภูมิศาสตร์ และเน้นจุดสนใจไปยังความหนาแน่นของ
ประชากร ทำให้รู้ถึงการกระจายตัวของประซากรโลกและดึงดูดความสนใจได้อย่างดีถ้าเปรียบเทียบระหว่าง ตารางที่ 4.1 และ รูป 4.1 จะเห็นได้ว่า การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางถึงแม้จะเป็นการให้รายละเอียดของข้อมูลทั้งหมดแก่ผู้รับสาร แต่ผู้รับสารอาจจะไม่ได้รับสิ่งที่เราต้องการ
จะสื่อ ทำให้ขาดความสนใจ ดังนั้น เราจึงนิยมนำเสนอข้อมูลโดยการทำให้เห็นเป็นภาพ เพื่อให้สื่อสารได้ตรงประเด็นและน่าสนใจ