การสร้างและแสดงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของผลงาน

เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ม.2

    ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ลิขสิทธิ์
2. สิทธิบัตร

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ ทำซ้ำหรือดัดแปลงใหม่ เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ

สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย

  1. เครื่องหมาย ® ตัวอาร์ในวงกลม ย่อมาจากคำว่า Registered Trademark หมายถึง เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน อย่างถูกต้อง ได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว
  1. เครื่องหมาย © ตัวซีในวงกลม ย่อมาจากคำว่า Copyright (สงวนลิขสิทธิ์ ) เป็นเครื่องหมายแสดงว่างานชิ้นนั้นมีลิขสิทธิ์ ใช้กับงานสร้างสรรทุกประเภท เช่น งานวรรณกรรม งานศิลปะ งานดนตรี งานภาพยนตร์ งานสร้างสรรเหล่านี้สร้างขึ้นมาแล้วไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียน ผู้สร้างขึ้นมาเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ทันที แม้จะไม่ได้ใส่เครื่องหมายไว้ก็ตามการนำผลงาน ที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ต้องได้รับอนุญาติอย่างถูกต้องจากเจ้าของ copy คัดลอก + right อย่างถูกต้อง บางครั้งจะใส่หมายเลขปีไว้ด้วยว่า มีสงวนลิขสิทธิ์ตั้งเมื่อไหร่ ถึง เมื่อไหร่ ตัวอย่าง Copyright © 2018 – 2020
  1. เครื่องหมาย © All rights reserved การปกป้องสิทธิ์ทุกอย่าง สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ ห้ามคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งเครื่องหมายการค้าที่เป็นสัญลักษณ์​ สากล คือการกำกับด้วย
  1. เครื่องหมาย ™ ตัวทีเอ็ม ตัวยก ย่อมาจากคำว่า Trade Mark หมายถึง เครื่องหมายการค้า (ที่ไม่ได้จดทะเบียน) ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือเจ้าของสินค้าใช้เป็นสัญลักษณ์ให้ผู้คนจดจำสินค้าของตน ไม่ห้ไปสับสนกับสินค้าอื่น เป็นการยืนยันทั้งด้านคุณภาพและลักษณะ ของสินค้า ซึ่งขั้นตอนนี้ยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ขั้นตอนต่อไปเจ้าของเครื่องหมายการค้าต้องจดทะเบียนให้ถูกต้อง พอได้รับการลงทะเบียนอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะเปลี่ยนไปใช้ สัญลักษณ์ ® และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
  1. เครื่องหมาย℠ ตัวเอสเอ็ม ตัวยก ย่อมาจากคำว่า Service Mark หมายถึง เครื่องหมายบริการ เป็นเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของกรรมสิทธิ์จัดทำขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าจดจำการบริการของตน และไม่ไปสับสนกับบบริษัทอื่น คล้ายกับ ™ แต่ต่างกันที่เป็น “การบริการ” ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เครื่อง เช่น เครื่องหมายของโรงแรม ธนาคาร หรือ สายการบิน เป็นต้น เมื่อจดทะเบียนเครื่องหมายการบริการอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะเปลี่ยนไปใช้ สัญลักษณ์ ®แทน
  1. เครื่องหมาย (CC) ตัวซีสองตัวในวงกลม ย่อมาจากคำว่า Creative commons เราได้รู้จักสัญลักษณ์ลิขสิทธิ์ที่เป็นตัวซีตัวเดียวกันไปแล้ว ทีนี้ก็มีองค์กรบางกลุ่มที่สร้างสรรผลงานขึ้นมา แล้วต้องการให้คนอื่น ก็อปไปใช้ได้บางส่วน แต่บางส่วนก็ได้สงวนลิขสิทธิ์ไว้ จึงทำให้เกิดองค์กร Creative commons ขึ้นมา สัญลักษณ์ลิขสิทธิ์ตัวซีสองตัว จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าแบบแรก ทำให้สามารถนำผลงานเหล่านั้นไป ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น กว่าเดิม อย่างไรก็ดีการนำไปใช้งานก็จะมีเงื่อนไข รายละเอียดปลีกย่อยอย่างอื่นด้วย อาทิ ต้องระบุที่มา ไม่ดัดแปลง ไม่นำไปใช้ประโยขน์ทางการค้า เป็นต้น อย่างบริษัทไมโครชอฟท์ก็ได้นำระบบ Creative commons มาใช้กับโปรแกรม Microsoft Office ด้วย ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้ที่ creative commons
  1. เครื่องหมาย ℗ ตัวพีในวงกลม ย่อมาจากคำว่า copyright phonogram หมายถึงลิขสิทธิทางด้านการบันทึกเสียงเช่น เทป ซีดี ตัวอักษร P มาจากคำว่า phonogram ที่ใช้กันในภาษาอังกฤษแบบบริติช ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันจะใช้คำว่า “sound recordings”

เจ้าของลิขสิทธิ์

  1. ผู้สร้างสรรค์งาน
  2. ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง
  3. ผู้ว่าจ้าง ในกรณีว่าจ้างผู้อื่นสร้างสรรค์งาน
  4. ผู้ดัดแปลง
  5. หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่น
  6. ผู้รับโอนลิขสิทธิ์

การได้มาซึ่งสิทธิ์

  1. สิทธิ์ในลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันที นับตั้งแต่สร้างสรรค์ผลงาน โดยไม่ต้องจดทะเบียน
  2. มีอายุการคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายเสียชีวิต
  3. ให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติแก่ทายาท
  4.  

สิทธิบัตร

สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์

ระยะเวลาสิทธิบัตร

  1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อายุ 20 ปี
  2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ อายุ 10 ปี
  3. อนุสิทธิบัตร (การประดิษฐ์ที่มีการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย) อายุ 6 ปี

เงื่อนไขในการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร

  1. เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่
  2. มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น
  3. มีประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม
  4. ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรไม่ได้

  1. จุลชีพ พืช สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
  2. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  3. ฐานข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  4. วิธีการวินิจฉัย บำบัดหรือรักษาโรค

เงื่อนไขในการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

  1. เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
  2. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม หรือหัตถกรรมได้
  3. ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน

ประโยชน์ของสิทธิบัตร

ที่มา : https://www.bloggang.com/m/mainblog.php?id=atpserve&month=13-08-2021&group=1&gblog=2

           https://sites.google.com/a/lrp.ac.th/withyakar-khanwn-computing-science-cs-m-2/6-4-kar-srang-laea-saedng-siththi-khwam-pen-ceakhxng-phl-ngan