แนวทางปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาไม่เหมาะสม

เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ม.2

          เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที เชื่อมโยงทุกสิ่งรอบตัวให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว แต่หากใช้งานไม่ระมัดระวังหรือขาดความรู้อาจเกิดผลกระทบต่อผู้ใช้งานได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้ให้เกิดประโยชน์ มีมารยาทในการใช้งาน มีความรับผิดชอบ ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่สร้างความเสียหายให้แก่ตนเองและผู้อื่น

          อัตราการเพิ่มของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และช่วงอายุของผู้ใช้งานกว้างมากขึ้นตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้สูงวัย อินเทอร์เน็ตช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการ การติดต่อสื่อสารทำได้สะดวก แต่ในขณะเดียวกันอินเทอร์เน็ตก็ได้สร้างปัญหาหลายประการให้กับผู้ใช้งาน เช่น ปัญหาทางด้านสุขภาพ เวลา และความเป็นส่วนตัวรวมถึงยังสร้างปัญหาที่นับว่าเป็นภัยสังคมอีกจำนวนไม่น้อย เช่น ปัญหาการล่อลวง ปัญหาการคุกคามทางเพศปัญหาการส่งข้อความหรือรูปภาพที่ผิดต่อหลักจริยธรรม ศีลธรรม และกฎหมาย ปัญหาการพนัน ปัญหาการวิจารณ์และละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ปัญหาการขโมยข้อมูลสำคัญทั้งของส่วนบุคคลหรือองค์กร ดังนั้นการใช้งานไอทีจึงต้องตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่นการป้องกันปัญหาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้ โดยศึกษาหาความรู้เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามข้อตกลงการใช้งาน เลือกสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเฉพาะในกลุ่มที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงการนัดพบกับบุคคลที่รู้จักผ่านอินเทอร์เน็ต ในส่วนของผู้ให้บริการควรมีมาตรการเพื่อช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เช่น ให้มีการลงทะเบียนสมาชิกก่อนการใช้งาน มีระบบตรวจสอบและแจ้งเตือนรูปแบบการสนทนาที่ไม่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ

แนวทางปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

การใช้งานอินเทอร์เน็ตนักเรียนจะพบข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่มีการบิดเบือนหรือสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นหรือส่วนรวม และหากนักเรียนพบข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้นนักเรียนควรปฏิบัติดังนี้

  1. ปฏิเสธการรับข้อมูล สามารถทำได้โดยไม่เปิดดู ไม่บันทึกเก็บไว้ และไม่กดไลค์ (Like) เพราะการกระทำเหล่านี้เป็นแนวทางที่ป้องกันไม่ให้ข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่ไปสู่ผู้อื่น
  2. ไม่ส่งต่อ ไม่แชร์ ไม่เผยแพร่ เพราะนอกจากจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนกับข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงแล้ว ในบางกรณีอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีโทษทั้งจำและปรับ
  1. แจ้งครูหรือผู้ปกครอง หากนักเรียนประสบปัญหาที่ไม่สามารถจัดการหรือแก้ไขได้เองให้แจ้งครูหรือผู้ปกครองเพื่อดำเนินการแก้ไขหรือติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำเดิมไม่สิ้นสุด
  2. แจ้งผู้เกี่ยวข้องที่ดูแลเว็บไซต์นั้น กรณีที่ใช้งานข้อมูลจากผู้ให้บริการระบบรายใหญ่ เช่น Facebook YouTube ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถรายงานปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น เนื้อหาที่มีการคุกคามทางเพศ เนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ส่งเสริมการก่อการร้ายการละเมิดลิขสิทธิ์หลังจากผู้ให้บริการได้รับแจ้ง จะมีการตรวจสอบเนื้อหาดังกล่าวอย่างถี่ถ้วน และดำเนินการกับผู้กระทำผิด เช่น ลบเนื้อหา ตัดสิทธิ์ (block) หรือจำกัดสิทธิ์การใช้งานกรทารงติอกัดเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการต่อ
  1. แจ้งเจ้าหน้าที่รัฐหรือตำรวจ หากผู้ดูแลระบบไม่จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเช่น แจ้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เว็บไซต์ http://www.mdes.go.thเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย