การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีกับสังคมและอาชีพ

เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ม.6

               เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและตลอดเวลาลองจินตนาการว่าถ้านอนหลับไปสัก 10 ปีเมื่อ 40 ปีก่อนเมื่อตื่นขึ้นมาอาจจะไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงมากนักแต่หลับไปตอนนี้แล้วตื่นขึ้นมาในอีก 10 ปีข้างหน้าพบว่าทุกอย่างเปลี่ยนไปมากจนอาจไม่เข้าใจอะไรเลยลองพิจารณาอุปกรณ์และสิ่งของต่างๆ เช่น แผ่นซีดี แผ่นบันทึก เครื่องพิมพ์ดีด ตลับเทปเสียง ตลับเทปวีดีโอ พิมพ์ถ่ายรูป 

                การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่างๆส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์และการดำเนินไปของสังคมหลายครั้งพัฒนาการของเทคโนโลยีบางอย่างส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในด้านการผลิต อุตสาหกรรม  และเศรษฐกิจของโลก การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่แบบนี้เรียกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมแต่ละครั้งส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำรงชีวิตและการทำงานเป็นอย่างมาก

                 ในยุคโบราณมนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และเก็บของป่าต่อมามีการปฏิวัติเกษตรกรรมทำให้มนุษย์มีแหล่งอาหารที่มั่นคงจากการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์มนุษย์จึงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดการสร้างเมืองและการพัฒนาการบริหารกำลังคนที่ซับซ้อนที่เรียกว่าการปกครองนอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหรือสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและการใช้งานที่สะดวกมากยิ่งขึ้น

 

ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1

ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1  เกิดขึ้นเนื่องจากมีการสร้างเครื่องจักรไอน้ำซึ่งเป็นพลังงานกลทำให้เกิดการผลิตแบบใหม่และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 เกิดจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าทำให้มีความสะดวกในการส่งถ่ายพลังงานส่งผลให้เกิดการพัฒนาการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 ขับเคลื่อนด้วยศักยภาพการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ทำให้้ลดภาระการทำงานซ้ำๆและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าและรุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาโดยเทคโนโลยีหลักที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีการแพทย์ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีวัสดุ

                สาเหตุที่เทคโนโลยีพัฒนาเร็วมากจนคาดไม่ถึง เนื่องจากมีการพัฒนาประสิทธิภาพในการคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์แบบทวีคูณ กอร์ดิน มัวร์ (Gordon Moore) ได้สังเกตการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพนี้ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2508 พบว่าจำนวนทรานซิสเตอร์ต่อพื้นที่ในการประมวลผลนั้นจะเพิ่มขึ้น 2 เท่าในทุก 2 ปีการเพิ่มประสิทธิภาพแบบทวีคูณนี้เมื่อมองในระยะสั้นอาจไม่เห็นผลกระทบมากนักแต่เมื่อเวลาผ่านไปผลที่ได้จะมหาศาลเกินการคาดเดา จนกระทั่งเมื่อเราได้เห็นความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายจึงตระหนักว่าขีดจำกัดของการคำนวณที่เชื่อกันนั้นอ่านไม่จริงเสมอไปเมื่อไม่นานมานี้ หนังสือหลายเล่มยังสรุปว่าคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะกับงานที่ต้องจดจำรูปแบบที่ซับซ้อนในขณะที่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้และจดจำรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่ามนุษย์

                นอกจากประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของหน่วยประมวลผลแล้วการพัฒนานวัตกรรม 11 ก็ส่งผลต่อเรื่องถึงประสิทธิภาพในการพัฒนานวัตกรรมด้านอื่นๆเป็นผลกระทบต่อเนื่องกันไปโดยเฉพาะนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการผลิตยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ ทำให้การสร้างต้นแบบชิ้นงานรวดเร็วขึ้นพร้อมทั้งประหยัดต้นทุนทำให้นวัตกรสามารถทดลองแนวคิดใหม่ ๆ ได้มากขึ้นส่งผลให้การพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้น

                 การส่งผลกระทบแบบต่อเนื่องกันไปอย่างที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเท่านั้น ถ้าพิจารณาในมุมกว้างการเกิดขึ้นของนวัตกรรม 11 เปลี่ยนแปลงสังคมในหลากหลายมุมยกตัวอย่างเช่น  เปลี่ยนแปลงสังคมในหลากหลายมุมยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงกับอาชีพพนักงานขับรถที่เสี่ยงตกงานได้แต่รถยนต์ไร้คนขับนั้นจะเปิดโอกาสให้คนชราและกลุ่มผู้พิการสามารถเดินทางได้สะดวกขึ้นเปิดช่องให้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนนี้นอกจากนี้รถยนต์ไร้คนขับอาจช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งจะมีผลทางอ้อมในการลดภาระงานของแพทย์ในห้องฉุกเฉิน

                ในขณะที่เทคโนโลยีสร้างความได้เปรียบและเพิ่มศักยภาพในด้านต่างๆมากมายในทางกลับกันคนที่เข้าไม่ถึงหรือไม่มีความเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีก็จะยิ่งเสียเปรียบมากขึ้นเทคโนโลยีอาจทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต