การเลือกพื้นที่ภาพ Selection
ในการปรับแต่งแก้ไขภาพกราฟิกด้วย Photoshop สิ่งที่มีความสำคัญและทำกันบ่อยๆคือการ “เลือก”พื้นที่บางส่วนของภาพ เพื่อใช้คำสั่งต่างๆให้แสดงผลเฉพาะพื้นที่ส่วนที่เลือกไว้ การ “เลือก” พื้นที่ใน Photoshop นี้เราเรืยกว่า การสร้าง Selection
Selection ก็คือ การกำหนดขอบเขตของภาพ เพื่อใช้สำหรับการแก้ไข ปรับแต่งภาพ ใส่เอฟเฟ็กต์ให้ภาพ ซึ่งเมื่อสร้าง Selection ขึ้นมาแล้ว ใช้คำสั่งเช่นปรับสี ปรับแสง-เงา หรือใส่ฟิลเตอร์ คำสั่งที่ใช้จะมีผลกับพื้นที่ที่เลือกไว้เท่านั้น และการ Selection ยังใช้แยกพื้นที่บางส่วนออกมาเพื่อใช้ในการตัดต่อภาพได้อีกด้วย
ในโปรแกรม Photoshop คำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง Selection มีอยู่มากมายให้เลือกใช้ ซึ่งให้ผลการ Selection ที่แตกต่างกันไป ตามลักษณะของการใช้งาน
เครื่องมือ ที่เกี่ยวกับ Selection
1. เครื่องมือ Marquee Tool

– Rectangular Marquee Tool เป็นการสร้างพื้นที่เป็นรูป สี่เหลี่ยม ถ้ากด Shift ค้างไว้ขณะคลิกลากเม้าส์จะได้รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
– Elliptical Marquee Tool เป็นการสร้างพื้นที่เป็นรูป วงกลมหรือวงรี ถ้ากด Shift ค้างไว้ขณะคลิกลากเม้าส์จะได้รูปวงกลม
– Single Row Marquee Tool เป็นการสร้างพื้นที่เป็นรูป เส้นตรงแนวนอน กว้าง 1 พิกเซล
– Single Column Marquee Tool เป็นการสร้างพื้นที่เป็นรูป เส้นตรงแนวตั้ง กว้าง 1 พิเซล
2. เครื่องมือ Lasso Tool

– Lasso Tool เป็นการเลือกแบบอิสระ คือเลือกพื้นที่ในรูปเส้น Free hand ด้วยการคลิกลากเมาส์ให้เป็นวงรอบพื้นที่ที่ต้องการ
– Polygonal Lasso Tool เป็นการเลือกแบบสร้างขอบเป็นเส้นตรงหลายเหลี่ยม ด้วยการคลิกเมาส์เพื่อสร้างรูปหลายเหลี่ยมรอบพื้นที่ที่ต้องการ
– Magnetic Lasso Tool เป็นการเลือกเสมือนมีแม่เหล็กที่ดูดขอบเส้นเข้าหาตำแหน่งที่เลือกโดยอัตโนมัติ
3. เครื่องมือ Selection Tool

– Quick Selection Tool เป็นการลบพื้นหลังที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจน
– Magic Wand Tool เป็นเครื่องมือเลือกดโดยการเลือกเฉพาะสี
4. การตั้งค่าเครื่องมือ Selection



Feather ตั้งค่าความเบลอหรือฟุ้งกระจายของขอบ Selection
ใช้กำหนดค่าฟุ้งกระจาย หรือความเบลอที่ขอบของ Selection หลังจากที่ได้เลือกพื้นที่แล้วจะต้องคัดลอก (Copy) ,ตัด (Cut),เคลื่อนย้าย(Move) เพื่อให้เห็นผลการทำงานของ Feather มีหน่วยเป็นพิกเซล โดยจะสามารถกำหนดค่าของ Feather ได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255 pixelยิ่งใช้ค่ามากขอบSelection จะยิ่งฟุ้งกระจายมากทำให้ขอบของภาพที่เลือกดูเบลอ หรือนุ่มนวลขึ้น ออปชั่นนี้จะมีอยู่ในเครื่องมือที่ใช้สร้างSelection ทุกชนิด ยกเว้นเครื่องมือ Magic Wand และ Quick Selectionการกำหนดค่า Feather ทำได้ 2 วิธีคือ
1.กำหนดก่อนสร้าง Selection โดยพิมพ์ค่าลงในช่องหลัง Feather
ในออปชั่นบาร์
2.กำหนดหลังสร้าง Selection ให้ใช้คำสั่ง Select > Modify > Feather จะมีไดอะล็อก Feather Selection เปิดขึ้นมา ใส่ค่าที่ต้องการในช่อง Feather Radius แล้วคลิก OK
ตัวอย่าง การ Selection โดยให้มี Feather
Anti-allas ความเรียบของขอบ
เป็นออปชั่นที่ใช้กำหนดให้ขอบของ Selection บริเวณที่เป็นเส้นโค้งหรือแนวเฉียงดูเรียบไม่มีรอยหยักเป็นขั้นบันไดให้เห็นเวลาเราก๊อปปี้ภาพไปใช้งาน
Style ของ Selection ใช้กำหนดวิธีสร้าง Selection แบ่งเป็น 3 ประเภท
Normal เป็นการเลือกขนาดของพื้นที่อย่างอิสระ
Fixed Aspect Ratio เลือกแบบกำหนดค่ายืดหยุ่นตามอัตราส่วนความกว้าง : ความสูงที่ได้กำหนดไว้
Fixed Aspect Ratio เลือกแบบกำหนดค่ายืดหยุ่นตามอัตราส่วนความกว้าง : ความสูงที่ได้กำหนดไว้
Fixed Size เลือกพื้นที่โดยกำหนดความสูงความกว้างอย่างตายตัว
Note:
- กดแป้น Backspace เพื่อลบจุดของการเลือกพื้นที่ออกไปทีละจุด โดยเริ่มจากจุดที่สร้างขึ้นล่าสุด
- กดแป้น ESC เพื่อยกเลิกทุกจุดของการเลือกพื้นที่ที่กำหนดไว้ทั้งหมด
- กดแป้น Shift ค้างไว้ขณะที่วาดพื้นที่ตามรูปทรงวัตถุ จะทำให้เกิดการทำมุมฉาก หรือ 45องศาเสมอ
- กดแป้น Alt ค้างไว้ขณะวาดพื้นที่เลือกขอบเขตวัตถุ จะทำให้ได้รูปวัตถุที่สมบูรณ์ตรงต่อความต้องการ
5. เมนู Select
คำสั่งอื่นๆในการจัดการ Selection โปรแกรม Photoshop มีคำสั่งพื้นฐานอื่นๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการ Selection นอกจากที่มีอยู่ใน Optionของเครื่องมือ Selection ชนิดต่างๆ
- การเลือกพื้นที่ทั้งภาพ ใช้คำสั่ง Select > All ( คีย์ลัด Ctrl+A)
- การยกเลิก Selection ใช้คำสั่ง Select > Deselect ( คีย์ลัด Ctrl+D ) เส้น Selection 0จะหายไปและพื้นที่ Selection ถูกยกเลิก
- เรียกคืน Selection ใช้คำสั่ง Select > Reselect ใช้เรียก Selection สุดท้ายที่ถูกยกเลิกไป
- การขยาย Selection ใช้คำสั่ง Select > Modify > Expand ขยายพื้นที่รอบ Selection เดิมออกไปโดยกำหนดค่าการขยายเป็นPixels
- การลดขนาด Selection ใช้คำสั่ง Selection > Modify > Contract ลดพื้นที่รอบ Selection เดิมลงโดยกำหนดค่าเป็น Pixels
- การสลับพื้นที่ Selection ใช้คำสั่ง Select > Inverse เป็นการสลับพื้นที่ที่เลือกไว้กับพื้นที่ที่ไม่ได้เลือก เนื่องจากพื้นที่ที่ต้องการเลือกจริงๆ มีความซับซ้อนทำให้ยากที่จะ Selection จึงเลือกพื้นที่ส่วนอื่น แล้วใช้คำสั่ง Select > Inverseสลับพื้นที่กัน
Total Page Visits: 1278 - Today Page Visits: 2