รู้เท่าทัน ฉันปลอดภัย

เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ม.3

การรู้เท่าทันสื่อ

         คือ ความสามารถในการป้องกันตนเองจากการถูกโน้มน้าวด้วยเนื้อหาที่เป็นเท็จและมีผลกระทบต่อผู้รับสื่อ เพื่อไม่ให้ตัวเองตกเป็นเครื่องมือทางการตลาดหรือผลประโยชน์ที่สื่อต้องการนำเสนอ
        โดยผู้รับสารสามารถ ตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อให้ได้ก่อนที่จะนำสื่อนั้นไปเผยแพร่ให้กับบุคคลอื่น

ก่อนนำสื่อไปใช้ให้พิจารณาประเด็นต่อไปนี้

  1. สื่อที่นำเสนอมีที่มาอย่างไร

  2. ใครเป็นเจ้าของสื่อนั้น

  3. สื่อนั้นใครผลิต

  4. สื่อนั้นผลิตภายใต้ข้อจำกัดใด

  5. เราควรเชื่อสื่อนั้นหรือไม่

  6. มีความเชื่ออะไรบ้างที่แฝงมากับสื่อนั้น

  7. ผู้สร้างหรือผู้เผยแพร่สื่อนั้นหวังผลประโยชน์อะไรบ้าง

การรู้เท่าทันสื่อแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

ระดับที่ 1 ผู้รับสื่อตระหนักถึงความสำคัญในการเลือกและจัดสรรเวลาในการใช้สื่อต่าง ๆ

ระดับที่ 2 ผู้รับสื่อมีทักษะการรับสื่อแบบวิพากย์ สามารถวิเคราะห์และตั้งคำถามว่าสื่อถูกสร้างขึ้นได้อย่างไรมีความน่าเชื่อถือหรือไม่

ระดับที่ 3 ผู้รับสื่อสามารถวิเคราะห์สื่อในเชิงสังคม การเมืองเครษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ จนนำไปสู่การสร้างเวทีทางสังคม

ข่าวลวงและผลกระทบ

เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อกวน โดยจะนำเสนอเรื่องราวที่เป็นเท็จมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ส่งผลเสียหายทั้งตัวบุคคล เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง

ลักษณะของข่าวลวง
  • สร้างเรื่องราวเพื่อให้เป็นจุดสนใจ
  • สร้างความหวาดกลัว
  • กระตุ้นความโลภ  
  • สร้างความเกลียดชัง
  • ส่งต่อกันมาผ่านทางเครือข่ายสังคม 
  • ไม่ระบุแหล่งที่มา
  • ขยายความต่อจากอคติของคนทั่วไปที่มีก่อนอยู่แล้ว เพื่อหวังให้ตนเองได้รับผลประโยชน์หรือใช้โจมตีคู่แข่ง

การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มี 2 รูปแบบ

1. การทำธุรกรรมโดยตรง ระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อ

การทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายสังคมต่างๆ หรือผ่านเว็บไซต์ของผู้ขาย เช่น การจองที่พักผ่านทางเว็บไซต์ของทางโรงแรม การสั่งซื้อมะพร้าวจากเว็บไซต์กลุ่มเกษตรกรจังหวัด

2. การทำธุรกรรมโดยผ่านผู้ให้บริการ

ธุรกรรมที่มีผู้ให้บริการสนับสนุนการดำเนินการหรือตัวกลาง โดยผู้ให้บริการรวบรวมสินค้าและบริการต่างๆ ให้อยู่ที่เดียวเพื่อง่ายต่อการเข้าถึงและใช้บริการของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น  ebay.com, lazada.co.th, shopee.co.th

สิ่งที่ผู้ใช้บริการควรระมัดระวังในการชำระค่าสินค้าหรือบริการ

  1. ชำระเงินโดยผู้ซื้อดำเนินการโอนเงินผ่านทางธนาคารแล้วส่งหลักฐานยืนยันเพื่อให้ผู้ขายส่งของภายหลัง
  2. ชำระเงินภายหลังจากได้รับสินค้ากับผู้ขายหรือผู้ให้บริการส่งสินค้า
  3. ชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคาร

  4. ชำระเงินผ่านบริการตัวกลางการชำระเงิน เช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมีบริการรับชำระเงินโดยการเติมเงินเข้าระบบและผูกกับบัญชีเข้ากับหมายเลขโทรศัพท์

 

ข้อควรระวังในการซื้อแอปพลิเคชัน ไอเท็ม หรือการบริการ

  1. เมื่อมีการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบปฏิบัติการจะบันทึกข้อมูลไว้เสมอผู้ใช้ควรตั้งค่าความปลอดภัยทุกครั้ง

  2. การสมัครบริการต่างๆ ที่มีการชำระเงินรายเดือน ถึงเราจะสมัครใช้บริการแต่เดือนเดียว แต่ผู้ให้บริการมักหักเงินค่าบริการแบบอัตโนมัติ

  3. ระวังการคลิกลิงก์โฆษณาผ่านทางข้อความ อาจจะเป็นการสมัครใช้บริการโดยอัตโนมัติทันที