จริยธรรมและกฎหมายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ม.6

               การที่อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่ทุกคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูล แสดงความคิดเห็น และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้อินเทอร์เน็ตมีลักษณะไม่ต่างจากร้านกาแฟในสมัยก่อนที่คนในชุมชนใช้เป็นสถานที่ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร อ่านหนังสือพิมพ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างการตัดสินใจร่วมกัน โครงสร้างดังกล่าวเป็นพื้นฐานทางสังคมที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของผู้คน แต่อย่างไรก็ตาม การกระทำใด ๆ บนโลกออนไลน์นี้ต้องเคารพสิทธิของบุคคลอื่น เคารพกฎหมาย และมีมารยาทที่จะไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือได้รับความอับอาย

การเข้าถึงและการร่วมตัดสินใจ

                    เทคโนโลยีเปิดโอกาสให้คนบนโลกสามารถเข้าถึง และติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายและรวดเร็วเนื่องจากไม่ว่าใครจะอยู่ที่ตำแหน่งใดก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เสมือนว่าอยู่ที่เดียวกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็นสื่อกลางที่ลดข้อจำกัดทางกายภาพของผู้คนที่มีความแตกต่าง ทั้งในด้านเชื้อชาติ สถานภาพ และสถานที่การรณรงค์ต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตบางครั้งจึงเริ่มต้นได้ง่ายกว่า และมีผู้เข้าร่วมที่มากกว่าการรณรงค์ปกติเพราะว่าการเข้าร่วมกิจกรรมนั้นมีต้นทุนต่ำ ทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมบนอินเทอร์เน็ตมักจะต้องเผชิญกับปัญหาด้านความน่าเชื่อถือ เนื่องจากมีการปลอมแปลงตัวตนได้ง่ายนอกจากต้นทุนในการมีส่วนร่วมที่ต่ำแล้ว อีกสาเหตุหนึ่งที่พลเมืองดิจิทัลสามารถมีส่วนร่วมในการสนทนาและตัดสินใจต่าง ๆ ได้ดี เนื่องจากความสามารถในการค้นหาข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวก จึงเป็นปัจจัยพื้นฐานของการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว เช่น การระดมความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ การสำรวจความเห็นเบื้องต้นในประเด็นสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันอาจมีความพยายามในการปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหาและบริการบนอินเทอร์เน็ต เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ

เสรีภาพในการแสดงออก

                หลายคนเข้าใจว่าในโลกออนไลน์ ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นในเรื่องใด ๆ ก็ได้ สิ่งแรกที่พลเมือง

                ดิจิทัลสัมผัสได้คือ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (freedom of expression) อย่างไรก็ตาม ระดับของการมีเสรีภาพจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและไม่กระทบหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น

                ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 19 ระบุเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกไว้ว่า บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพที่จะแสดงความเห็นและการแสดงออก ซึ่งสิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในามเห็นของตนเองโดยปราศจากการแทรกแซงและสิทธิในการแสวงหา รับและแจ้งข่าวสาร รวมทั้งแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างไม่มีขอบเขต

“Everyone has the right to freedom of opinion and expression; this right includes freedom to hold opinions without interference and to seek, receive and impart information and ideas through any media and regardless of frontiers.”

                เสรีภาพในการแสดงออกนี้ ไม่ได้หมายความว่าทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างไรก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ การมีเสรีภาพในการแสดงออกไม่ได้ปกป้องเราจากผลของการกระทำนั้นผู้พูดสามารถเลือกที่จะใช้เสรีภาพในการแสดงออกนำเสนอเนื้อหาที่ปลุกเร้าความโกรธและเกลียดชังเนื้อหาดังกล่าวอาจนำพาให้คนอื่นโกรธและเกลียดผู้พูดได้ซึ่งผลสืบเนื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าจะคาดหวังได้จากการแสดงออกดังกล่าว ในทำนองเดียวกัน บุคคลมีสิทธิ์ที่จะแสดงออกและวิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่น แต่ถ้าการวิจารณ์ดังกล่าวเป็นการให้ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียชื่อเสียง ได้รับความอับอายหรือเกลียดชัง ก็อาจจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายหมิ่นประมาทได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่การวิพากษ์วิจารณ์เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ อาจได้รับการยกเว้นจากความผิดฐานหมิ่นประมาทได้

คำพูดเกลียดซัง หรือประทุษวาจา (hate speech)

                ในบางประเทศ คำพูดที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือปลุกเร้าให้เกิดการกระทำรุนแรงได้รับการ

                 พิจารณาในฐานะไม่ต่างจากคำพูดทั่วไป แต่ในหลายประเทศก็มีกฎหมายห้ามเผยแพร่เนื้อหาที่มีคำพูดเหล่านี้ แนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันนี้ ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม ในมาตราที่ 20 ของสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของสหประชาชาติ ได้ระบุให้มีกฎหมายห้ามการเผยแพร่เนื้อหาใน 2 ลักษณะ ดังนี้

  1. โฆษณาชวนเชื่อให้ก่อสงคราม ควรถูกห้ามโดยกฎหมาย
  2. การโฆษณาหรือเผยแพร่ความเกลียดชังเกี่ยวกับชาติ เชื้อชาติ และศาสนา ที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติและการกระทำรุนแรง ควรถูกห้ามโดยกฎหมาย

กฎหมายดิจิทัล

                 ปัจจุบันเรามีการใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Smartphone หรือ Tablet ซึ่งแทบจะกลายเป็นของสำคัญที่บางคนรู้สึกว่าขาดไม่ได้ดังนั้นจึงต้องมีความเข้าใจและระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยี กฎหมาย  หรือ พ.ร.บ. เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้กำหนดฐานความผิดและบทลงโทษไม่ดังนี้ 

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

พรบ. คอมพิวเตอร์

ฐานความผิด

โทษจำคุก

โทษปรับ

มาตรา ๕ เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีการป้องกันโดยมิชอบไม่เกิน ๖ เดือนไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๖ ล่วงรู้การป้องกันระบบคอมพิวเตอร์ และนำไปเปิดเผยโดยมิชอบไม่เกิน ๑ ปีไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๗ เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีการป้องกันโดยมิชอบไม่เกิน ๒ ปีไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๘ การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบไม่เกิน ๓ ปีไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๙ การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบไม่เกิน ๕ ปีไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๐ รบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นโดยมิชอบไม่เกิน ๕ ปีไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๑

 

  • (วรรค ๑) ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ E-Mail ที่ปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา เป็นการรบกวนผู้อื่น
  • (วรรค ๒) และถ้าก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ โดยไม่เปิดโอกาสให้บอกเลิกหรือปฏิเสธ
ไม่มี(๑) ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท

 

(๒) ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

มาตรา ๑๒ หากการกระทำผิดตามมาตรา ๕, ๖, ๗, ๘  หรือ มาตรา ๑๑

 

  • (วรรค ๑) เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ สาธารณะ เศรษฐกิจของประเทศหรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
  • (วรรค ๒) ถ้าก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์
  • (วรรค ๓) ถ้าทำผิดมาตรา ๙ หรือ ๑๐ ตามวรรค ๑
  • (วรรค ๔) ถ้าการทำผิดตามวรรค ๑ หรือ วรรค ๓ โดยมิได้เจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย
(๑) ตั้งแต่ ๑ ถึง ๗ ปี

 

(๒) ตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๐ ปี

(๓) ตั้งแต่ ๓ ถึง ๑๕ ปี

(๔) ตั้งแต่ ๕ ถึง ๒๐ ปี

(๑) ตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ บาท ถึง ๑๔๐,๐๐๐ บาท

 

(๒) ตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท

(๓) ตั้งแต่ ๖๐,๐๐๐ บาท ถึง ๓๐๐,๐๐๐ บาท

(๔) ตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ถึง ๔๐๐,๐๐๐ บาท

มาตรา ๑๒/๑ ถ้าการทำผิดตามมาตรา ๙ หรือ ๑๐

 

  • (วรรค ๑) เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
  • (วรรค ๒) ถ้าการทำผิดตามมาตรา ๙ หรือ ๑๐ โดยมิได้เจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย
(๑) ไม่เกิน ๑๐ ปี

 

(๒) ตั้งแต่ ๕ ถึง ๒๐ ปี

(๑) ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

 

(๑) ตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ถึง ๔๐๐,๐๐๐ บาท

มาตรา ๑๓ การจำหน่าย/เผยแพร่ Software ที่ใช้กระทำผิด

 

  • (วรรค ๑) ตามมาตรา  ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐  หรือ  ๑๑
  • (วรรค ๒) ตามมาตรา ๑๒ วรรค ๑ หรือ วรรค ๓
(๑) ไม่เกิน ๑ ปี

 

(๒) ไม่เกิน ๒ ปี

(๑) ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท

 

(๒) ไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท

มาตรา ๑๔ ผู้ทำผิดตามที่ระบุไว้

 

  • (๑) ทุจริต หลอกลวง นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบ โดยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน
  • (๒) นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบ โดยน่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ สาธารณะ เศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือทำให้ประชาชนตื่นตระหนก
  • (๓) นำข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร หรือการก่อการร้ายเข้าสู่ระบบ
  • (๔) นำข้อมูลที่มีลักษณะลามกเข้าสู่ระบบและประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึง
  • (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลโดยรู้อยู่แล้วว่าผิดตาม ๑ ถึง ๔
    • (วรรค ๒) ถ้าการเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลที่ผิดตาม ๑ ถึง ๔ เป็นกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ไม่เกิน ๕ ปี

 

(๕) วรรค ๒ ไม่เกิน ๓ ปี

ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท

 

(๕) วรรค ๒ ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการ (ISP) ที่ยอมให้เผยแพร่ข้อมูลตามมาตรา ๑๔ไม่เกิน ๕ ปีไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๖ นำภาพของผู้อื่นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

 

  • (วรรค ๑) ภาพนั้นเกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อหรือดัดแปลง และน่าจะทำให้ผู้อื่นเสียหาย
  • (วรรค ๒) ภาพนั้นเป็นภาพผู้ตาย และน่าจะทำให้บิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตรเสียหาย
  • (วรรค ๓) ถ้าทำโดยสุจริต เป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ไม่มีความผิด
  • ความผิดตาม วรรค ๑ วรรค ๒ ยอมความได้
  • ถ้าผู้เสียหายตายก่อนร้องทุกข์ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรร้องทุกข์ได้
ไม่เกิน ๓ ปีไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital intelligence)

ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) เป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กากับตน รู้ผิดรู้ถูก และรู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบ เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และปลอดภัย พลเมืองดิจิทัลจึงต้องตระหนักถึงโอกาสและความเสี่ยงในโลกดิจิทัล เข้าใจถึงสิทธิและความรับผิดชอบในโลกออนไลน์ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล นับเป็นมาตรฐานหนึ่งด้านทางเทคโนโลยีการศึกษาที่เสนอโดยสมาคมเทคโนโลยีการศึกษานานาชาติ (ISTE : International Society for Technology in Education) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสดงความเข้าใจประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม และความเป็นมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และปฏิบัติตนอย่างมีจริยธรรมและตามครรลองกฎหมายให้ใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างปลอดภัย ถูกกฎหมาย ซึ่งมีความสาคัญในทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทักษะสาคัญที่จะทาให้เป็นพลเมืองดิจิทัลที่สมบูรณ์

 

ความฉลาดทางดิจิทัล เป็นผลจากศึกษาและพัฒนาของ DQ institute หน่วยงานที่เกิดจากความร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชนทั่วโลกประสานงานร่วมกับ เวิลด์อีโคโนมิกฟอรั่ม (World Economic Forum) ที่มุ่งมั่นให้เด็ก ๆ ทุกประเทศได้รับการศึกษาด้านทักษะพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพและใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างปลอดภัยด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความฉลาดทางดิจิทัล เป็นกรอบแนวคิดที่ครอบคลุมของความสามารถทางเทคนิคความรู้ความเข้าใจและความคิดทางสังคมที่มีพื้นฐานอยู่ในค่านิยมทางศีลธรรมที่ช่วยให้บุคคลที่จะเผชิญกับความท้าทายทางดิจิทัล ความฉลาดทางดิจิทัล มีสามระดับ 8 ด้าน และ 24 สมรรถนะที่ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยม โดยบทความนี้จะกล่าวถึงทักษะ 8 ด้านของความฉลาดดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัล ซึ่งเป็นความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อในรูปแบบที่ปลอดภัยรับผิดชอบ และมีจริยธรรม ดังนี้

  1. เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen Identity)

               เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล เป็นความสามารถสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่างดีทั้งในโลกออนไลน์และโลกความจริงอัตลักษณ์ที่ดีคือ การที่ผู้ใช้สื่อดิจิทัลสร้างภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์ของตนเองในแง่บวก ทั้งความคิดความรู้สึก และการกระทา โดยมีวิจารณญาณในการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น มีความเห็นอกเห็นใจผู้ร่วมใช้งานในสังคมออนไลน์ และรู้จักรับผิดชอบต่อการกระทา ไม่กระทาการที่ผิดกฎหมายและจริยธรรมในโลกออนไลน์ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ การกลั่นแกล้งหรือการใช้วาจาที่สร้างความเกลียดชังผู้อื่นทางสื่อออนไลน์

  1. การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)

                การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล เป็นความสามารถควบคุมตนเอง ความสามารถในการจัดสรรเวลาในการ ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลและอุปกรณ์เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้งานสื่อสังคม (Social Media) และเกม ออนไลน์ (Online Games) ด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง สามารถบริหารเวลาที่ใช้อุปกรณ์ยุคดิจิทัล รวมไปถึงการควบคุมเพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และโลกความเป็นจริง อีกทั้งตระหนักถึงอันตราย และสุขภาพจากการใช้เวลาหน้าจอนานเกินไป และผลเสียของการเสพติดสื่อดิจิทัล

  1. การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ (Cyberbullying Management)

               การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ เป็นความสามารถในการป้องกันตนเอง การมีภูมิคุ้มกันในการรับมือและจัดการกับ สถานการณ์การกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างชาญฉลาด การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหรือช่องทางเพื่อก่อให้เกิดการคุกคามล่อลวงและการกลั่นแกล้งบนโลกอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มเป้าหมายมักจะเป็นกลุ่มเด็กจนถึง เด็กวัยรุ่น การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์คล้ายกันกับการกลั่นแกล้งในรูปแบบอื่น หากแต่การกลั่นแกล้งประเภทนี้จะกระทาผ่านสื่อออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล เช่น การส่งข้อความทางโทรศัพท์ ผู้กลั่นแกล้งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมชั้น คนรู้จักในสื่อสังคมออนไลน์ หรืออาจจะเป็นคนแปลกหน้าก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่กระทาจะรู้จักผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งรูปแบบของการกลั่นแกล้งมักจะเป็นการว่าร้าย ใส่ความ ขู่ทาร้าย หรือใช้ถ้อยคาหยาบคาย การคุกคามทางเพศผ่านสื่อออนไลน์ การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น การแบล็กเมล์ การหลอกลวง การสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ

  1. การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย (Cybersecurity Management)

               การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย เป็นความสามารถในการสารวจ ตรวจสอบ การป้องกัน และ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบเครือข่าย ป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลหรือการถูกโจมตีออนไลน์ได้ มีทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์การรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์ คือการปกป้องอุปกรณ์ดิจิทัลข้อมูลที่จัดเก็บและข้อมูลส่วนตัวไม่ให้เสียหาย สูญหาย หรือถูกโจรกรรมจากผู้ไม่หวังดีในโลกไซเบอร์

  1. การจัดการความเป็นส่วนตัว (Privacy Management)

                การจัดการความเป็นส่วนตัว เป็นความสามารถในการจัดการกับความเป็นส่วนตัวของตนเองและของผู้อื่น การใช้ข้อมูลออนไลน์ร่วมกัน การแบ่งปันผ่านสื่อดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการ รู้จักป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง เช่น การแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือดิจิทัล การขโมยข้อมูลอัตลักษณ์ เป็นต้น โดยต้องมีความสามารถในการฝึกฝนใช้เครื่องมือ หรือวิธีการในการป้องกันข้อมูลตนเองได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงปกปิดการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ในเว็บไซต์ เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ คือสิทธิการปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์ของผู้ใช้งานที่บุคคลหรือการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รวมถึงการใช้ดุลยพินิจปกป้อง ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่เป็นความลับของผู้อื่น

  1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

                การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง ความสามารถในการตัดสินของบุคคลว่าควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ ควรทา หรือไม่ควรทาบนความคิดเชิงเหตุและผล มีความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์และข้อมูลที่เข้าข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อทางออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัยและน่าเชื่อถือได้ เมื่อใช้อินเทอร์เน็ต ทราบว่าเนื้อหาใดมีประโยชน์ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ สามารถวิเคราะห์และประเมิน ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายได้ เข้าใจรูปแบบการหลอกลวงต่าง ๆ ในสื่อดิจิทัล เช่น ข่าวปลอม เว็บไซต์ปลอม ภาพตัดต่อ ข้อมูลอันที่เท็จ เป็นต้น

  1. ร่องรอยทางดิจิทัล (Digital Footprints)

                ร่องรอยทางดิจิทัล เป็นความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลว่าจะหลงเหลือร่องรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ ร่องรอยทางดิจิทัล อาจจะส่งผลกระทบในชีวิตจริง ที่เกิดจากร่องรอยทางดิจิทัลเข้าใจผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อนามาใช้ในการจัดการกับชีวิตบทโลกดิจิทัลด้วยความรับผิดชอบ ข้อมูลร่องรอยทางดิจิทัล เช่น การลงทะเบียน อีเมล การโพสต์ข้อความหรือรูปภาพ ไฟล์งานต่าง ๆ เมื่อถูกส่งเข้าโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว จะทิ้งร่องรอยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานไว้ ให้ผู้อื่นสามารถติดตามได้ และจะเป็นข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลได้อย่างง่ายดาย

  1. ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล (Digital Empathy)

                 ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล เป็นความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น การตอบสนองความต้องการของผู้อื่น การแสดง ความเห็นใจและการแสดงน้าใจต่อผู้อื่นบนโลกดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อคนรอบข้าง ไม่ว่าพ่อแม่ ครู เพื่อนทั้งในโลกออนไลน์และในชีวิตจริง ไม่ด่วนตัดสินผู้อื่นจากข้อมูลออนไลน์แต่เพียงอย่างเดียว และจะเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในโลกออนไลน์

                จะเห็นว่าความฉลาดดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัลเป็นทักษะที่สาคัญสาหรับนักเรียน และบุคคลทั่วไปในการสื่อสารในโลกออนไลน์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งเอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย การจัดการความเป็นส่วนตัว การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ร่องรอยทางดิจิทัล ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล หากบุคคลมีทักษะและความสามารถทั้ง 8 ประการจะทาให้บุคคลนั้นมีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กากับตน รู้ผิดรู้ถูก และรู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และปลอดภัย

DeepFake

               DeepFake เกิดจากคำ 2 คำรวมกัน นั่นคือ Deep Learning และ Fake โดย Deep Learning คือการเรียกชุดตรรกะของระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่สามารถเรียนรู้จากสิ่งเล็กๆ เข้าใจง่าย ไปจนถึงเรื่องที่ซับซ้อนหรือยากที่จะเข้าใจ ส่วนคำว่า Fake แปลว่าปลอมนั่นเอง

              ตัวเทคโนโลยี DeepFake เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2017 จากผู้ใช้งานบน Reddit ชื่อผู้ใช้งาน DeepFake ใช้ภาพใบหน้าของดาราดังระดับโลกหลายคนเข้ามาแทนที่ใบหน้าของดาราหนังโป๊ รวมไปถึงการนำใบหน้าดาราดังอย่าง Nicolas Cage ไปใส่ในภาพของหนังหลายเรื่องที่เขาไม่ได้แสดงนั่นเอง

                เมื่อเร็ว ๆ นี้ Deepfake ก็กลายมาเป็นประเด็นขึ้นอีกครั้งเมื่อมีผู้ใช้งาน TikTok รายหนึ่งชื่อ “deeptomcruise” ได้นำใบหน้าของ ทอม ครูซ มาสวมทับใบหน้าของบุคคลอื่นบนวิดีโอต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดเป็นกระแสถกเถียงกันว่า ทอม ครูซ  ที่เห็นในวิดีโอนั้นเป็นตัวจริงหรือไม่