การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม

เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ม.3

ลิขสิทธิ์ (Copyright)

        ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

        การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง

ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

  1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  2. งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
  3. งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
  4. งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
  5. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
  6. งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก
  7. งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์
  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

ผลงานที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์

3.1 ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร เช่น วัน เวลา สถานที่ ชื่อบุคคล จำนวนคน ปริมาณ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาเรียบเรียงจนมีลักษณะเป็นงานวรรณกรรม อาทิ การวิเคราะห์ข่าว บทความ ผลงานนั้นอาจจะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานวรรณกรรม

3.2 รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย

3.3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น

3.4 คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ

3.5 คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 3.1 – 3.4 ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

3.6 ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

เอกสารที่ใช้ประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

  1. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
  2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
  3. ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด
  4. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
  5. หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรฯ รวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
1ตรวจทาน/แก้ไข แบบฟอร์มใบแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ (ข้อที่ 1.) ผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ (ข้อที่ 2.) และหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ (ข้อที่ 3.) เรียบร้อยแล้ว
2ให้ท่านส่งไฟล์กลับมายังอีเมลศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ tu.tuipi@gmail.com เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ ทำความเข้าใจ และแก้ไขกลับไปให้ท่านอ่านเนื้อหาอีกครั้งว่า ยังมีเนื้อหาที่ตรงกับความประสงค์ของผู้สร้างสรรค์หรือไม่่
3ให้ท่าน (ซึ่งเป็นเจ้าของผลงาน) ส่งไฟล์ที่แก้ไขกลับมายังอีเมลศูนย์ฯ อีกครั้ง
4เมื่อหลักฐานครบ รายละเอียดการประดิษฐ์ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ จะนำหลักฐานทั้งหมดไปยื่นจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ จะนำหลักฐานการยื่นที่ได้เลขที่คำขอลิขสิทธิ์แล้วส่งคืนเจ้าของผลงานทั้งในรูปของเอกสาร (Hard copy) และไฟล์ เพื่อเก็บเป็นหลักฐานร่วมกันกับศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ต่อไป

หลักการพิจารณาในการใช้ fair use

  1. ผู้นำไปใช้ต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือแสวงหาผลกำไรไม่มีเจตนาทุจริต
  2. ผู้ใช้ต้องพิจารณาระดับการสร้างสรรค์ผลงานที่ต้องใช้จินตนาการสูงใช้ความพยายาม เช่น นวนิยายการรายงานเหตุการณ์ที่เฉพาะไม่ควรนำผลงานเหล่านี้ไปใช้เด็ดขาด

  3. การนำผลงานไปใช้ในปริมาณที่มากเกินไปหรือใช้ในปริมาณที่น้อยแต่เป็นส่วนที่สำคัญถือว่าเป็นการใช้งานที่ไม่เป็นธรรม

  4. การใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาผลประโยชน์ตามปกติของเจ้าของผลงานอาจทำให้ผลงานนั้นขายไม่ได้

ตัวอย่างการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม

  • การวิจัยหรือศึกษางานโดยไม่แสวงหากำไร เช่น น.ร. สำเนาข้อความบางส่วนในบทความเพื่อทำแบบฝึกหัด
  • ผู้สอน ทำซ้ำ ดัดแปลงผลงานเพื่อประกอบการสอน แจกจ่ายจำนวนจำกัด เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนและมีการอ้างอิงเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่แสวงหากำไร
  • การนำงานลิขสิทธิ์มาใช้เพื่อสังคมโดยคัดลอก ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติ่มสิ่งใหม่ และมีการอ้างอิงในงานวิจัยเพื่ออธิบายความคิดเห็นของผู้เรียน
  • การคัดลอกคำกล่าวหรือบทความโดยย่อ และมีการอ้างอิงในการรายงานข่าว
  • กรณีหนังสือไม่ได้พิมพ์จำหน่ายเป็นเวลานานและมีการนำไปใช้งาน ถึงไม่กระทบต่อรายได้เจ้าของลิขสิทธิ์จนอาจทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ขายไม่ได้ เพราะหนังสือไม่มีขายแล้ว ถือว่าเป็นการใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม
  • การเสนอรายงานหรือติชม วิจารณ์แนะนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในปริมาณที่เหมาะสมและมีการอ้างอิง
  • การทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นโดยไม่ได้แสวงหาผลกำไร ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์เปิดโอกาสให้สาธารณชนทำซ้ำได้โดยไม่คิดมูลค่า
  • การรายงานข่าว งานวรรณกรรมที่ตีพิมพ์เพื่อวางจำหน่าย ที่รายงานไม่เกิด 10% หรือ 1,000 คำ และใช้ภาพไม่เกิน 6 ภาพ และมีการอ้างอิง ซึ่งถือเป็นการใช้งานในปริมาณพอสมควร ถือว่าเป็นการใช้ผลงานลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม
  • การสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีไว้จำหน่าย สามารถสำรองไว้เพื่อป้องกันการสูญหาย
  • การรายงานข่าวโดยใช้มิวสิควิดีโอประกอบไม่เกิน 10% หรือไม่เกิน 30 วินาทีของผลงานนั้น โดยมีการอ้างอิงเจ้าของผลงาน
  • การดาวน์โหลดเพลงของผู้อื่นไปขาย
  • ผู้สอนถ่ายเอกสารหนังสือเรียนเพื่อขายกับผู้เรียนจำนวนมากทำให้เจ้าของลิขสิทธ์สูญเสียรายได้
  • การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบลองใช้ (Shareware) อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะหมดอายุการใช้งาน
  • ผู้นำไปใช้มีเจตนาทุจริต นำผลงานไปใช้โดยไม่อ้างอิงหรือใช้ในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดคิดว่าผลงานนั้นเป็นลิขสิทธิ์ของตนเอง